กรณีศึกษาที่ 1 โครงงานพัฒนาเว็บไซต์เเนะนำการใช้ห้องสมุด
เเนวคิดเชิงคำนวณเป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ทักษะและเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาแบบมีลำดับขั้นตอน เเละเป็นระบบ เพื่อสามารถลำดับขั้นตอนในการแก้ปัญหาในเชิงนามธรรมได้
1.1 การประยุกต์แนวคิดเชิงคำนวณีเพื่่อแก้ปัญหา
โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องพัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุดของโรงเรียน โดยมีความต้องการของระบบเบื้องต้น ดังนี้
1. โรงเรียนต้องการให้พัฒนาเว็บไซต์แนะนำการใช้งานห้องสมุดในลักษณฅะเว็บแอปพลิเคชัน
และรองรับการทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ตโฟนหรือแท็บแล็ต เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้งาน
สามารถเรียกใช้งานเว็บไซต์นี้ได้ตลอดเวลา และปรับเปลี่ยนการแสดงผลให้เป็นไปตามอุปกรณ์ที่
ใช้งาน
2. เว็บไซต์นี้ต้องแนะนำการใช้งานห้องสมุดโดยครอบคลุมหัวข้อ ดังนี้
- แนะนำกฎระเบียบต่าง ๆ ในการใช้งานห้องสมุด
- แนะนำขั้นตอนการยืม - คืนหนังสือ และสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ
- แนะนำขั้นตอนการสืบค้นหาหนังสือ
- แนะนำวิธีการใช้งานสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ในห้องสมุด
- แนะนำจุดที่ตั้งชั้นวางหนังสือประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด
- แนะนำการสืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก
- แสดงข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของห้องสมุด
- สามารถสืบค้นหนังสือในห้องสมุดได้
- ผู้ใช้งาน คือ อาจารย์ นักเรียน และบุคลากรภายในโรงเรียน
การแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา (Decomposition)
การแยกส่วนประกอบอาจเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนานวัตกรรม เนื่องจากทำให้เห็นหน้าที่การทำงานของแต่ละส่วนประกอบย่อยอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาส่วนประกอบย่อยต่างๆ ในแบบที่เป็นอิสระต่อกันแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นๆได้การแบ่งส่วนประกอบของวัตถุนั้น สามารถพิจารณาให้ละเอียดย่อยลงไปอีกได้อีกหลายระดับ แต่ไม่ควรแยกย่อยรายละเอียดให้มากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทที่ต้องการและสนใจ
การแยกส่วนประกอบอาจเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนานวัตกรรม เนื่องจากทำให้เห็นหน้าที่การทำงานของแต่ละส่วนประกอบย่อยอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาส่วนประกอบย่อยต่างๆ ในแบบที่เป็นอิสระต่อกันแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทอื่นๆได้
การแยกส่วนประกอบนั้น ไม่ได้ทำเฉพาะกับวัตถุหรือสิ่งของเท่านั้น แต่ยังสามารถทำได้กับกระบวนการและขั้นตอนวิธีด้วย เช่น การเดินทางมาโรงเรียน อาจเดินทางด้วยการเดินเท้า การเดินทางด้วยรถจักรยาน หรือการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
การแยกส่วนประกอบนั้น ไม่ได้ทำเฉพาะกับวัตถุหรือสิ่งของเท่านั้น แต่ยังสามารถทำได้กับกระบวนการและขั้นตอนวิธีด้วย เช่น การเดินทางมาโรงเรียน อาจเดินทางด้วยการเดินเท้า การเดินทางด้วยรถจักรยาน หรือการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
การหารูปแบบ (Pattern recognition)
การหารูปแบบ เป็นทักษะการหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง แนวโน้ม และลักษณะทั่วไปของสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปแล้วควรจะเริ่มพิจารณาปัญหาหรือสิ่งที่สนใจ จากนั้นอาจใช้ทักษะการแยกส่วนประกอบทำให้ได้องค์ประกอบภายในอื่นๆ แล้วจึงใช้ทักษะการหารูปแบบเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น
การหารูปแบบอีกประเภทหนึ่ง เป็นการหารูปแบบที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างสิ่งของต่างๆ ที่สนใจหลายชิ้น การพิจารณารูปแบบนี้จะช่วยระบุองค์ประกอบสำคัญร่วมกันของสิ่งของเหล่านั้นได้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจเชิงนามธรรม เช่น เมาส์ จะเห็นว่าเมาส์นั้นมีรูปลักษณ์ภายนอกที่แตกต่างกันออกไป แต่สังเกตได้ว่ารูปแบบการใช้งานนั้นเหมือนกัน คือ สามารถบังคับตำแหน่งตัวชี้ได้โดยการขยับเมาส์ และใช้กดหรือสัมผัสบนปุ่มเมาส์เพื่อกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่โปรแกรมไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น